*** หมายเหตุ : ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ ตามหลักเกณฑ์ สคบ.กำหนดให้ร้านทองสามารถหักได้ไม่เกิน 5% จากราคาทองคำแท่งรับซื้อในวันนั้น ๆ ทั้งนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวใช้เฉพาะกรณีซื้อ-ขายร้านเดิมเท่านั้น ***

เชิญร่วมอบรม "หลักสูตรธุรกิจทองคำและโลหะมีค่า รุ่นที่ 5" (เรียนทุกวันเสาร์ เริ่มวันที่ 17 ม.ค. - 21 ก.พ.58) จัดโดย GIT ร่วมกับ สมาคมค้าทองคำ

ณ วันที่ 07/05/2557

 

หลักสูตรธุรกิจทองคำและโลหะมีค่า (เรียนทุกวันเสาร์) 

 

  1. วัตถุประสงค์
    • เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทองคำ คุณสมบัติ กระบวนการผลิต การตรวจสอบ และการพัฒนาสินค้าทองรูปพรรณให้กับผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและผู้สนใจทั่วไป
    • เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการและยกระดับคุณภาพของบุคลากรในวงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับทองของไทย
    • เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและยกระดับมาตรฐานของการผลิตทองรูปพรรณของไทยให้ทัดเทียมและสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้
    • เพื่อเป็นการนำเสนอแนวทางในการพัฒนาและขยายขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศ

  2. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    • สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สามารถผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรมเครื่องประดับทองคำของไทยที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ที่สำคัญของทอง กระบวนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพตลอดจนทักษะในการพัฒนาเครื่องประดับทองคำที่ดีขึ้น
    • ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานและการค้าทองคำในระดับนานาชาติตลอดจนแนวคิดในการพัฒนาสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันในระดับประเทศได้
    • สินค้าเครื่องประดับทองคำของไทยได้รับการพัฒนาจนมีคุณภาพมาตรฐานสากลและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
    • ผู้ประกอบการ และผู้สนใจมีความรู้เพื่อหาแนวทางการคิดวิเคราะห์และประเมินผลความเสี่ยงด้านการลงทุนค้า ทองคำ
    • ผู้สำเร็จการอบรมสามารถเข้าสู่ธุรกิจฯ ในเบื้องต้นได้

  3. แผนการดำเนินงาน
    • การบรรยายประกอบสไลด์และ/หรือวีดีทัศน์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะวิทยาและด้านการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรมค้าทอง นักวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยทองคำ และผู้เชี่ยวชาญจาก สคบ. เป็นต้น
    • ภาคปฏิบัติการทดสอบความบริสุทธิ์ของทองคำอย่างง่ายๆ
    • ภาคปฏิบัติเทคนิคการดูทองแท้และทองเทียม
    • การสาธิตการปฏิบัติการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยเครื่องมือชั้นสูงโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบโลหะมีค่าของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีฯ
    • การเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจค้าเครื่องประดับทอง และการลงทุน

  4. ระยะเวลาในการฝึกอบรม: ทุกวันเสาร์ 
    วันละ 6 ชม. รวม เป็นเวลา 6 ครั้ง รวม 36 ชั่วโมง และทัศนศึกษาโรงงานทำเครื่องประดับทองอีกครึ่งวัน

  5. คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม
    • ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในธุรกิจเครื่องประดับทอง
    • ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านโลหะมีค่า

  6. เนื้อหาหลักสูตร: วันละ 6 ชม. (9.00 - 16.00 น.) 
     
    บทที่ / วัน เนื้อหา (เอกสารการสอน-Presentation) วิทยากร ชม.
    1
    กว่าจะเป็นธุรกิจค้าทอง
    แหล่งกำเนิด ประวัติ การทำเหมืองทองและโลหะอื่นๆ กรรมวิธีการสกัดแร่ทอง
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลหะมีค่า ประเภทของโลหะมีค่าและสมบัติที่สำคัญ และตราสัญลักษณ์ (Hall-Mark) /การรับรองคุณภาพโลหะมีค่า / มาตรฐานและความบริสุทธิ์ของทองคำ / หน่วยน้ำหนักทองคำ
    คุณจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี
    คุณเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ
    อาจารย์ณรงค์ ประไพรักษ์สิทธิ์
    1.5
    1.5
    3
    2
    โลหะผสมของทองคำ (Gold Alloy): วิวัฒนาการทำทองให้บริสุทธิ์ / น้ำประสานทอง / เทคนิคการทำทองคำให้บริสุทธิ์ (Refining techniques)
    คุณสมศักดิ์ ตัณฑชน และ คุณจักรพันธ์ สุวรรณวิจิตร
    6
    3
    เทคนิควิธีการตรวจสอบโลหะมีค่าด้วยเทคนิคต่างๆ วิธีการตรวจสอบโลหะมีค่าแท้-เทียม ด้วยการสังเกต /วิธีการตรวจสอบโลหะมีค่าแท้-เทียม ด้วยเครื่องมือพื้นฐาน / วิธีการตรวจสอบโลหะมีค่าแท้เทียม ด้วยเครื่องมือขั้นสูง / วิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของทองคำ และโลหะมีค่า
    คุณสมบูรณ์ ภุชงค์โสภาพันธุ์ และ คุณจักรพันธ์ สุวรรณวิจิตร

    รวมการสาธิต
    4
    การผลิตเครื่องประดับ และการประเมินราคาทอง ชนิดและส่วนประกอบของเครื่องประดับ / ลวดลายเครื่องประดับทอง / วิธีการผลิตเครื่องประดับ เช่น
    • งานขึ้นมือ
    • งานหล่อ
    • งานปั๊ม
    • งานชุบขึ้นรูปด้วยไฟฟ้า
    • งานลงยา
    • งานชุบโลหะ
    • การดุน (ฝานฝีมือทางเหนือ)
    • งานถม
    • งานผลิตโดยเครื่องจักร เป็นต้น
    การประเมินคุณภาพชิ้นงานที่ขึ้นรูปด้วยมือ และด้วยเครื่องจักร / การประเมินราคาทอง การผลิต - การรับซื้อทองเพื่อขาย
    คุณสมศักดิ์ ตัณฑชน
    คุณสมบูรณ์ ภุชงค์โสภาพันธุ์
    4.5
    1.5
    5
    การทำธุรกิจค้าทองคำและเครื่องประดับ
    • รูปแบบธุรกิจค้าทองและเครื่องประดับการริเริ่มธุรกิจ /การหมุนเวียนเงินทุน
    • ข้อกำหนด / การประกาศราคาทอง
    • ภาษี กฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง / การจดทะเบียนห้างร้าน
    • ข้อกำหนด ส.ค.บ.
    • การจัดระเบียบทองรูปพรรณ
    คุณธีรเดช สินธพเรืองชัย
    คุณธีรภัทร์ สุภัทรกิตติกุล (นิติกรอาวุโสสถาบัน)
    คุณจิรชัย มูลทองโร่ย
    3
    1.5
    1.5
    6
    การลงทุนในทองคำ (AEC - Global)
    • ความสำคัญของทองคำที่มีต่อการลงทุน
    • ชนิดของการลงทุนทองคำ
    • ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนฯ
    • ช่องทางการลงทุนฯ ในตลาดโลก เป็นต้น
    คุณกมลธัญ พรไพศาลวิจิต (ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ)
    4.5
     
    ประเมินผลภาคทฤษฎี และปฎิบัติ
    1.5
    7
    เยี่ยมชมโรงงานและกระบวนการผลิตฯ 
    ณ บริษัท Shinning Gold ระหว่างเวลา 9.30 - 12.30 น.

    หมายเหตุ: หัวข้อบรรยาย และวิทยากรอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ***

  7. สถานที่ดำเนินงาน 
    ห้องเรียนที่ 4 ชั้น 3 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

  8. อุปกรณ์ที่นักเรียนจะได้รับ
    • ลูปกำลังขยาย 10 เท่า (จากประเทศเยอรมนี)
    • ตะไบ
    • หินภูเขาไฟสำหรับฝนทอง (Touch stone)
    • เอกสารการสอนต่าง ๆ

  9. จำนวนผู้เรียน ผู้เข้าฝึกอบรมรุ่นละ 15 คน

  10. การประเมินผล สอบภาคทฤษฎี และปฎิบัติ 
     
ค่าอบรม 19,500 บาท (รวมอุปกรณ์การเรียนแล้ว)
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.git.or.th/2014/courses_precious_metal.html


Download PDF

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT
140, 140/1-3, 140/5 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 1 - 4 และชั้น 6 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500  
โทรศัพท์ 0-2634-4999  โทรสาร 0-2634-4970  อีเมล์ www.git.or.th