*** หมายเหตุ : ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ ตามหลักเกณฑ์ สคบ.กำหนดให้ร้านทองสามารถหักได้ไม่เกิน 5% จากราคาทองคำแท่งรับซื้อในวันนั้น ๆ ทั้งนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวใช้เฉพาะกรณีซื้อ-ขายร้านเดิมเท่านั้น ***

คุณสมบัติและประโยชน์ของทองคำ

คุณสมบัติของทองคำ
ทองคำ เรียกโดยย่อว่า “ทอง” เป็นธาตุลำดับที่ 79   มีสัญลักษณ์ Au       ทองคำเป็นโลหะแข็งสีเหลือง   เกิดเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ   ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยา และสามารถทนทานต่อการขึ้นสนิมได้ดีเลิศ   ทองคำมีจุดหลอมเหลวที่ 1064 องศาเซลเซียส    จุดเดือดที่ 2701 องศาเซลเซียส   มีความถ่วงจำเพาะ 19.3 และมีน้ำหนักอะตอม 196.67     ลักษณะที่พบเป็นเกล็ด เม็ดกลม แบน หรือรูปร่างคล้ายกิ่งไม้   รูปผลึกแบบลูกเต๋า(Cube) หรือ ออคตะฮีดรอน (Octahedron) หรือ โดเดกะฮีดรอน (Dodecahedron) 
คุณสมบัติสำคัญของทองคำอีกประการหนึ่งคือ   ทองคำเป็นโลหะที่อ่อนและเหนียว    ทองคำหนัก 1 ออนซ์    สามารถทำให้เป็นเส้นได้ยาวถึง 50 ไมล์   และสามารถตีแผ่ทองคำให้เป็นแผ่นบางขนาด 0.00005 นิ้วได้ (หรืออาจบุเป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า 0.0001 มิลลิเมตรได้)    นอกจากนี้   ทองคำยังเป็นโลหะที่ไม่ละลายในกรดชนิดใดเลย        แต่สามารถละลายได้อย่างช้าๆ ในสารละลายผสมระหว่างกรดดินประสิวและกรดเกลือ   
จุดเด่นสำคัญของทองคำอยู่ที่สี   กล่าวคือ   ทองคำมีสีเหลืองสว่างสดใส   และมีความสุกปลั่ง (Brightness) มีประกายมันวาวสะดุดตา   นอกจากนี้ยังไม่เป็นสนิมแม้จมดินจมโคลน   มีความแข็งเหนียว เนื้อแน่น ไม่สกปรก ไม่หมอง ไม่เป็นคราบไคลง่ายเหมือนวัตถุชนิดอื่นๆ
คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้เป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานาน    โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ และใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ
ทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับ    เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่นและเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ
1.ความงดงามมันวาว (Lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ   ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่น ๆ   ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง
2.ความคงทน (Durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม
3.ความหายาก (Rarity) ทองคำเป็นแร่ที่หายาก   กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์   ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน   และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตรจึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง   เป็นสาเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต
4.การนำกลับไปใช้ประโยชน์ (Reuseable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับ   เพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่ม   สามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย   อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยการทำให้บริสุทธิ์ (Purified) ด้วยการหลอมได้อีกนับครั้งไม่ถ้วน
 
คุณประโยชน์ของทองคำ
            1. วงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณี   ทองคำได้ครอบครองความเป็นหนึ่งในฐานะโลหะที่ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด     จากอดีตถึงปัจจุบันเครื่องประดับอัญมณีทองคำได้มีส่วนทำเป็นฐานเรือน รองรับอัญมณีมาโดยตลอด   จากรูปแบบขั้นพื้นฐานของงานทองที่ง่ายที่สุด   ไปสู่เทคนิคการทำทองด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง 
            2. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจการคลัง   ทองคำมีประโยชน์ในฐานะเป็นโลหะสื่อกลางแห่งการแลกเปลี่ยนเงินตรา   ทองคำถูกสำรองไว้เป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ    เพราะทองคำมีมูลค่าในตัวเอง ผิดกับเงินตราสกุลต่างๆ อาจเพิ่มหรือลดได้ ทองคำถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรของตลาดการค้า   นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำเป็นเหรียญกษาปณ์ทองคำ หรือแสตมป์ทองคำ หรือธนบัตรทองคำ   ซึ่งถูกผลิตโดยรัฐบาล หรือหน่วยงานเอกชน   ในวาระโอกาสพิเศษต่าง ๆ          เพื่อก่อให้เกิดกระแสค่านิยมการเก็บสะสมเป็นที่ระลึกอีกด้วย
            3. ทองคำในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์   ทองคำถูกนำมาใช้ในวงการอิเล็คทรอนิกส์และการสื่อสารโทรคมนาคม   อาทิเช่น สวิตซ์โทรศัพท์ที่ใช้เป็นแผงตัด   เพื่อให้กระแสไฟฟ้าเดินได้สะดวก การใช้ลวดทองคำขนาดจิ๋วเชื่อมต่อวัสดุกึ่งตัวนำและทรานซิสเตอร์    การใช้ลวดทังสเตนและโมลิบดีนัมเคลือบทองคำ ใช้ในอุตสาหกรรมหลอดสูญญากาศ   การเคลือบผิวเสาอากาศด้วยทองคำเพื่อการสื่อสารระยะไกล    การใช้ตาข่ายทองคำเพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระบบการสื่อสารการบินพาณิชย์     การใช้อลูมิเนี่ยมเคลือบทองในเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อทำหน้าที่สะท้อนรังสีอินฟราเรดได้อย่างดีเลิศ    การใช้โลหะทองคำเจือเงิน และนิกเกิลประกบผิวทองเหลืองสำหรับใช้ในปลั๊ก   ปุ่มสวิตซ์ไช้งานหนัก   หรือสปริงเลื่อนในลูกบิดเลือกเปลี่ยนช่องทีวี   แผงวงจรต่างๆ   ก็มีทองคำเป็นตัวนำไฟฟ้าเพื่อให้ทำงานได้ตลอดอายุงานเนื่องจากทองคำอยู่ตัว   และไม่เกิดฟิล์มออกไซด์ที่ผิว
4. ประโยชน์ในการคมนาคมและการสื่อสารโทรคมนาคม   ทองคำมีคุณสมบัติการสะท้อนรังสีอินฟราเรดได้ดี ทองคำจึงถูกนำมาใช้กับดาวเทียม ชุดอวกาศ และยานอวกาศ   เพื่อป้องกันการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่มากเกินไป   กระจกด้านหน้าของเครื่องบินคองคอร์ด     จะมีแผ่นฟิล์มทองคำติดไว้ป้องกันรังสีจากดวงอาทิตย์ และป้องกันการจับตัวเป็นน้ำแข็ง หรือการทำให้เกิดฝ้าหมอกมัวกระจกด้านนอกของเครื่องเป็นสีน้ำตาล หรือบรอนซ์จาง ๆ   และมองจากด้านในจะเป็นสีน้ำเงินจาง ๆ    ก็มีชั้นฟิล์มทองคำติดไว้เพื่อป้องกันความกล้าของแสงแดดและความร้อนจากดวงอาทิตย์     ใบจักรกังหันในเครื่องบินไอพ่น   ถ้าไม่มีส่วนผสมของทองคำที่จะประสานกับโรเตอร์ ย่อมจะแตกแยกได้ง่าย   ชิ้นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีทองคำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย      อาคารสำนักงานใหญ่ ๆ   ของธนาคารกลางในแคนาดา ในนครโตรอนโต้   ก็ติดแผ่นฟิล์มทองคำด้วยทอง 24 K มีน้ำหนักรวมถึง 77.7 กิโลกรัม    เพื่อลดความร้อน และปรับอุณหภูมิในอาคารให้พอเหมาะและเพิ่มความสวยของอาคารอีกด้วย
5. ประโยชน์ในวงการแพทย์และทันตกรรม   ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยทองคำมีมาแต่ครั้งเก่าก่อน   คนโบราณเชื่อว่าเมื่อนำทองคำผสมกับยา จะเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้มีชีวิตยืนยาว    หมอแผนโบราณยังคงสั่ง “ยาเม็ดทอง” ให้กิน เพื่อกันโรคหลายอย่างรวมทั้งโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและการเป็นหมัน     ในโลกยุคปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่ก็มีการทดลองใช้ทองคำเพื่อการบำบัดรักษาโรคภัย      ทองคำถูกนำมาใช้ในการต่อสู้กับโรคมะเร็งในรายหนัก ๆ   แพทย์จะฉีดสารละลายของทองคำกัมมันตรังสี แต่ปริมาณทองที่ใช้ในการแพทย์รวมแล้วยังเล็กน้อยและไม่มีความสำคัญอะไร ซ้ำราคายังแพงอีกต่างหาก   การใช้ทองคำในการแผ่รังสี    การสอดทองใส่ในกล้ามเนื้อเพื่อให้มีกำลังต่อสู้กับความเจ็บป่วย    การใช้ทองคำเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการแยกวิเคราะห์ปอดและตับ     ในด้านทันตกรรม   ทองคำถูกนำมาใช้โดยวิธีการบ่มแข็งทองคำ ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย   และมีจุดหลอมตัวปานกลาง ทองคำจึงเหมาะสมในการถูกนำมาใช้ในการอุดฟัน ครอบฟัน   ทำฟันปลอม    การจัดฟันและการดัดฟัน
 
การกำหนดคุณภาพของทองคำ
การกำหนดคุณภาพของทองคำของไทย     ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีวิธีการกำหนดคุณสมบัติ ดังนี้
1.ในอดีต 
ปรากฎหลักฐานตามประกาศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ระบุถึงการกำหนดคุณภาพทองคำ    โดยตั้งพิกัดราคา(ทองคำ)    ตามประมาณของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ในทองรูปพรรณ    เนื้อทองคำดังกล่าวอาจผสมด้วยแร่เงิน   หรือทองแดงมากน้อยตามคุณภาพของทองคำ   ส่วนการเรียกทองคุณภาพต่าง ๆ นั้น    ใช้วิธีการเรียกราคาของทองคำต่อน้ำหนักทองหนึ่งบาทเป็นมาตรฐานในการเรียกชื่อทองคำ    โดยเริ่มตั้งแต่ทองเนื้อสี่ขึ้นไปจนถึงทองเนื้อเก้า   ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 
ทองเนื้อสี่           หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท          ราคา 4 บาท
ทองเนื้อห้า         หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท          ราคา 5 บาท
ทองเนื้อหก         หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท          ราคา 6 บาท (ทองดอกบวบ)
ทองเนื้อเจ็ด        หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท          ราคา 7 บาท
ทองเนื้อแปด       หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท          ราคา 8 บาท
ทองเนื้อเก้า         หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท          ราคา 9 บาท
 
ทองเนื้อเก้าเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า   “ทองธรรมชาติ” หรือบางที่เรียกว่า “ทองชมพูนุช” เป็นทองที่มีสีเหลืองเข้มออกแดง    นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันอีกหลายชื่อ   เช่น   “ทองเนื้อแท้”    “ทองคำเลียง”   ซึ่งหมายถึงทองบริสุทธิ์ปราศจากธาตุอื่นเจือปน   ซึ่งตรงกับคำในภาษาล้านนาว่า “คำขา”    นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกทองคุณภาพต่าง ๆ    อีกหลายชื่อ   เช่น   “ทองปะทาสี”   ซึ่งเป็นทองคำเปลวเนื้อบริสุทธิ์ชนิดหนา “ทองดอกบวบ” เป็นทองที่มีเนื้อทองสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ
 
 
2.ในปัจจุบัน  
การกำหนดคุณภาพของทองคำยังคงใช้ความบริสุทธิ์ของทองคำในการบ่งบอกคุณภาพของทองคำ   โดยการคิดเนื้อทองเป็น “กะรัต”   ทองคำบริสุทธิ์   หมายถึง   ทองคำที่มีเนื้อทอง 99.99 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้น    หรือเรียกกันว่าทองร้อยเปอร์เซ็นต์   หรือเรียกกันในระบบสากลว่า   ทอง 24 กะรัต    ทองซึ่งมีเกณฑ์การบ่งบอกคุณภาพของเนื้อทองโดยบ่งบอกความบริสุทธิ์เป็นกะรัตมีชื่อเรียกว่า   “ทองเค”   ทองคำบริสุทธิ์ไม่มีโลหะหรือสารอื่นเจือปนอยู่เป็นทอง 24 กะรัต   หากมีความบริสุทธิ์ของทองคำลดต่ำลงมา   ก็แสดงว่ามีโลหะอื่นเจือปนมากขึ้นตามส่วน   เช่น   ทอง 14 กะรัต หมายถึง ทองที่มีเนื้อทองบริสุทธิ์ 14 ส่วน และมีโลหะอื่นเจือปน 10 ส่วน   เป็นต้น        ทองประเภทนี้บางทีเรียกว่า “ทองนอก”    ซึ่งส่วนมากนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพชรพลอยต่าง ๆ   ในอุตสาหกรรมอัญมณี
กะรัต                 สัญลักษณ์          เปอร์เซ็นต์          เฉดสีที่ได้           นิยมในประเทศ
24                     24K                   99.99%                ทอง                  สวิสเซอร์แลนด์
22                     22K                   91.7%               เหลืองทอง          อินเดีย
21                     21K                   84.5%               เหลืองทอง          กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
18                     18K                   75%                  เหลืองขาว           อิตาลี,ฝรั่งเศส,ญี่ปุ่น
14                     14K                   58.3%               เหลืองขาว           สหรัฐอเมริกา,อเมริกาเหนือ,อังกฤษ
10                     10K                   41.6%               เหลือง                สหรัฐอเมริกา ,อเมริกาเหนือ
9                      9K                     37.5%               เหลืองปนเขียว     อังกฤษ
8                      8K                     33.3%               เหลืองซีด           เยอรมนี
 
            สำหรับประเทศไทยนั้นใช้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำที่ 96.5 เปอร์เซ็นต์   หากจะเทียบเป็นกะรัตแล้ว จะได้ประมาณ 23.16 K      ซึ่งจะได้สีทองที่เหลืองเข้มกำลังดี   และมีความแข็งของเนื้อทองพอเหมาะสำหรับการนำมาทำเครื่องประดับ                      เนื่องจากทองคำบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็นต์     มีความอ่อนตัวมาก   จึงไม่สามารถนำมาใช้งานได้         จำเป็นต้องผสมโลหะอื่น ๆ   ลงไปเพื่อปรับคุณสมบัติทางกายภาพของทองคำให้แข็งขึ้น คงทนต่อการสึกหรอ    โลหะที่นิยมนำมาผสมกับทองคำได้แก่ เงิน ทองแดง นิกเกล และสังกะสี   ซึ่งอัตราส่วนจะสัมพันธ์ตามความต้องการของผู้ใช้งาน กล่าวคือ ผู้ผลิตทองรูปพรรณแต่ละรายจะมีสูตรของตนเอง    ในการผสมโลหะอื่นเข้ากับทอง     บางรายอาจผสมทองแดงเป็นสัดส่วนที่มากหน่อยเพราะต้องการให้สีของทองออกมามีสีอมแดง หรือบางรายอาจชอบให้ทองของตนสีออกเหลืองขาวก็ผสมเงินในอัตราส่วนที่พอเหมาะ         ซึ่งทั้งหมดนั้นจะได้ความบริสุทธิ์ของทอง 96.5 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน  
 
หน่วยวัดน้ำหนักทอง
กรัม [Grammes] 
จะใช้กันเป็นส่วนใหญ่ จะถือได้ว่าเป็นสากล หรือนานาชาติก็ได้
 
ทรอยออนซ์ [Troy Ounces] 
และเป็นหน่วยน้ำหนักที่ใช้ในการกำหนดราคาซื้อขายกันในตลาดโลก 
ส่วนใหญ่จะใช้กันในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
 
ตำลึง,เทล [Taels]  
ส่วนใหญ่ใช้กันในประเทศที่ใช้ภาษาจีน เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน จีน
 
โทลา [Tolas]
จะใช้กันในอินเดีย ปากีสถาน สิงคโปร์ และประเทศในตะวันออกกลาง
 
ชิ [Chi] 
ใช้ในประเทศเวียตนาม
ดอน [Don]
ใช้ในประเทศเกาหลีใต้
[mesghal]
ใช้ในประเทศอิหร่าน
 
บาท [Baht] 
ใช้ในประเทศไทย
            
การแปลงหน่วยวัดทองคำแท่ง
1 กิโลกรัม                                  เท่ากับ                          32.1508 ทรอยเอานซ์    
1 ทรอยเอานซ์                            เท่ากับ                           31.1034807 กรัม
1 ตำลึง                                      เท่ากับ                           37.429 กรัม
1 โทลา                                     เท่ากับ                           11.6638 กรัม
1 ชิ                                          เท่ากับ                            3.75 กรัม
1 ดอน                                      เท่ากับ                            3.75 กรัม
1 mesghal                                เท่ากับ                            4.6083 กรัม
1 บาท (ทองคำแท่ง)                    เท่ากับ                            15.244 กรัม 
1 บาท (ทองรูปพรรณ)                  เท่ากับ                            15.16 กรัม
1 บาท                                       เท่ากับ                           4 สลึง
1 สลึง                                      เท่ากับ                            10 หุ๋น 
1 หุ๋น                                         เท่ากับ                           0.38 กรัม
การกำหนดน้ำหนักของทองในประเทศไทย  มีหน่วยเป็น  “บาท” โดยทองคำแท่ง 1 บาท หนัก 15.244 กรัม ส่วนทองรูปพรรณ 1บาท หนัก 15.16 กรัม
 

ข้อมูลจาก goldcalculator.com


  •  
    The traditional unit of weight for precious metals and gems.

    1 troy ounce = 480 grains
    1 troy ounce = 24 scruples
    1 troy ounce = 20 pennyweights (North American jewelery trade)
    1 troy ounce = 1.097 ordinary ounce
    1 troy ounce = 8 drams
    1 troy ounce = 31.1034768 grams.
    1 troy ounce = 120 carats
    1 troy ounce = 155.52 metric carats (diamonds / precious stones).
    3.75 troy ounces = 10 tolas (Indian sub-continent)
    6.02 troy ounces = 5 taels (Hong Kong)
    12 troy ounce=1 troy pound
    14.583 troy ounce =16 avoirdupois ounce (1Pound)
    32.15 troy ounces = 1 kilogramme (Kilo)
    32,150 troy ounces = 1 metric ton (1,000 kilos)
    1000 troy ounces = 31.1 kilograms


  • The pennyweight was the weight of a silver penny in medieval England.
    It is no coincidence that there were 240 pennies to the English pound.
    240 silver pennies were equivalent to a pound of silver.
    The word sterling applies both to the English pound and to the standard
    purity of silver.

    1 pennyweight = 24 grains (dwt) (1 old time French penny)
    1.55 grams=1 pennyweight (dwt)
    20 dwt=1 troy ounce
    240 pennyweights = 1 pound troy
    24 grains=1 dwt
    1 pennyweight =.05 troy ounce
    1 gram=.643 pennyweight


  • 1 gram =.03215 troy ounce
    1 gram =.643 pennyweight
    1.555 grams = 1 pennyweight (dwt)
    1 gram =0.00267923 apothecary or troy pound
    1 gram =0.00220462 avoirdupois pound
    1 gram =0.0321507 apothecary or troy ounce
    1 gram =0.564383 avoirdupois dram
    1 gram =0.257206 apothecary or troy dram
    1 gram =0.6430149 pennyweight
    1 gram =0.771618 scruple
    1 gram =15.4324 grains
    1 gram =1x10^-6 metric ton
    1 gram =1x10^-4 myriagram
    1 gram =0.001 kilogram
    1 gram =5 metric carats
    1 gram =1000 milligrams
    1 gram =1x10^6 microgram
    1 Gram = 5 Carats


  • Gram-Calorie (mean) =1.5593x10^-6 horse power hours
    Gram-Calorie (mean) =0.001 kilogram calorie
    Gram-Calorie (mean) = 0.0011628 watt-hour
    Gram-Calorie (mean) =0.001459 cubic foot atmosphere
    Gram-Calorie (mean) =0.0039685 BTU (mean)
    Gram-Calorie (mean) =0.0039685 BTU (mean)
    Gram-Calorie (mean) =0.041311 liter-atmosphere
    Gram-Calorie (mean) =0.42685 kilogram-meter
    Gram-Calorie (mean) =3.0874 foot-pounds
    Gram-Calorie (mean) =4.186 joules (absolute)
    Gram-Calorie (mean) =99.334 foot-poundals
    Gram-calorie (15?C) = 4.185 joules (absolute).
    Gram-calorie (20?C) = 4.181 joules (absolute).
    Gram-centimeter =2.3427x10^-8 kilogram-calorie (mean)
    Gram-centimeter =9.2972x10^-8 BTU (mean)
    Gram-centimeter =1x10^-5 kilogram-meter
    Gram-centimeter =2.3427x10^-5 gram-calorie (mean)
    Gram-centimeter =7.233x10^-5 foot-pound
    Gram-centimeter =9.80665x10^-5 joule (absolute)
    Gram-centimeter =980.7 ergs


  • An ancient unit which was originally based on the weight of a grain of wheat. The grain is the smallest unit of weight in the avoirdupois, troy, and apothecaries systems. Surprisingly it is identical in all three systems.
    1 grain = 64.8 milligrams
    1 grain = 0.0648 grams
    4 grains = 1 carat
    15.432 grains = 1 gram
    20 grains = 1 scruple
    24 grains =1 pennyweight
    480 grains = 1 troy ounce
    5760 grains = 1 troy pound
    437.5 grains = 1 ounce avoirdupois
    7000 grains = 1 pound avoirdupois
    Grain = 1/7000 avoirdupois pound
    Grain = 1/5760 apothecary or troy pound
    Grain = 0.0022857 avoirdupois ounce
    Grain = 0.0020833 apothecary or troy ounce
    Grain = 0.03657143 avoirdupois dram
    Grain = 0.016667 apothecary or troy dram
    Grain = 0.0416667 troy pennyweight
    Grain = 0.05000 apothecary scruple
    Grain =0.064798918 gram
    Grain =0.3240 metric carat
    Grain =64.798918 milligram


  • An ancient unit of weight, also a Greek coin. It is believed to have originally meant the amount which one could hold in one's hand.
    16 drams = 1 ounce avoirdupois
    8 drams = 1 ounce apothecaries
    1 drams = 27.34375 grains
    1 dram = 1.772 grams
    3 scruples = 1 drachm
    20 grains = 1 scruple


  • A unit of weight previously used in Japan to weigh pearls.
    75 grains = momme
    18.75 carats = 1 momme
    3.75 grams = 1 momme


  • A British system developed and refined from the earlier Roman systems used in Britain during the middle ages.
    20 cwt = 1 ton (40 bushells or 160 stones) = 1 ton avoirdupois
    4 stones = 1 bushell (56lbs)
    1 hundredweight (cwt) = 112lbs (2 bushells, or 8 stones)
    14 pounds avoirdupois = 1 stone avoirdupois
    16 ounces avoirdupois = 1 pound avoirdupois
    1 ounce avoirdupois = 28.349523 grams approx.
    1 pound avoirdupois = 453.59237 grams
    1 ton avoirdupois = 2240 pounds avoirdupois


  • Use these formulas to convert!
    Carats to Dwt x by .12860
    Carats to Grams x by .2
    Dwt to Carats x by 7.776
    Dwt to Grams x by 1.5552
    Dwt to Troy oz x by .05
    Grams to Carats x by 5.0
    Grams to Dwt x by .64301
    Avoir Oz to Troy oz x by .91146
    Avoir Oz to Grams x by 28.3495
    Troy Oz to Avoir oz x by 1.091

  •  พิกัดศุลกากร